ท่านผู้อ่านอาจจะเคยเห็นหรือเชี่ยวชาญในการผสมผสานลาดลวายต่างๆลงบนเสื้อผ้ากันมาแล้วไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ทราบหรือไม่ครับว่าพื้นฐานในการผสมผสานลวดลายต่างๆนั้นมีที่มาและตรรกะอยู่เบื้องหลังบางอย่าง
หากเราเข้าใจ “พื้นฐาน” ที่สำหรับผมแล้วคิดว่า “สำคัญมาก” ก็จะไม่เกิดอาการของการผสมผสานลวดลายของเสื้อเชิ้ต แจ็คเก็ต และกางเกงที่พอใส่ออกมาแล้วรู้สึกถึงความวุ่นวายออกมา ถึงแม้จะมี Pattern ที่แตกต่างกันอยู่บนตัวเราอยู่หลายแบบก็ตาม นั้นก็คือความเข้าใจในเรื่องของ “Pattern” และ “Scale”
พื้นฐานที่ว่าเหล่านี้ สรุปออกมาได้หลักๆ 5 ข้อ ดังนี้ครับ
จับคู่ 2 Patterns ที่เหมือนกัน: เส้นชนเส้น (Stripe) หรือตารางชนตาราง (Check) เช่น Stripe หรือ Check ชนกันของเสื้อเชิ้ตกับแจ็คเก็ต หรือเสื้อเชิ้ตกับเนคไท ควรจะให้ “ขนาด” ของเส้นที่อยู่ในเครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นนั้น “ต่างกัน”
จับคู่ 2 Patterns ที่ต่างกัน: เช่น แจ็คเก็ตเป็นลายตาราง ส่วนเนคไทเป็น Stripe ควรให้ “ขนาด” หรือ “Scale” ของสองแพทเทิร์นนั้น “ใกล้เคียงกัน” ยกเว้นในกรณีที่ลายใดลายหนึ่งในสองลายนั้นมีขนาดที่เล็กมาก เช่น Houndstooth ขนาดเล็กในแจ็คเก็ต หากต้องเลือกเนคไทควรเลือกเป็นไทที่มีขนาดลายที่ใหญ่กว่า
ผสม 3 Patterns ที่ต่างกัน: ควรจะให้ Scale และ Contrast ของแต่ละชิ้นมีใกล้เคียงกัน
ผสม 3 Patterns ที่มีสองชิ้น Design เหมือนกัน: ใช้ไกด์ข้อ 1 คือให้ Scale ของ Design ที่เหมือนกันมีขนาดต่างกัน และอีกชิ้นหนึ่งที่ Design ต่างกันมี Scale ที่รู้สึกว่าไม่ทำให้ลายทั้งสองนั้นวุ่นวาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเลือกลายที่ไม่เข้าพวกให้มี Scale ที่ขนาดใหญ่กว่า
ผสม 3 Patterns ที่ทั้งสามชิ้นมี Design เหมือนกัน: ควรให้ทั้ง 3 ชิ้นมี Scale ที่ต่างกันแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น เชิ้ต Stripe เล็ก จับคู่แจ็คเก็ต Stripe ที่มีใหญ่และห่างกันขึ้นมา ปิดท้ายด้วยเนคไทลาย Stripe ขนาดใหญ่
แต่พึงระลึกไว้เสมอครับว่าสิ่งเหล่านี้ก็คือ Guideline ที่ไม่จำเป็นเคร่งเครียดจนเกินไป แต่ Guide เหล่านี้คือ Safe Zone ที่จะทำให้การผสมลายกันแล้วคนอื่นมองมาแล้วไม่รู้สึกว่าลวดลายตีกันเองจนปวดหัว หลังจากเราเริ่มชินและเข้าใจกับการ Mixing Pattern แล้ว การออกนอกกฎโดยใช้ความชอบของตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลยครับ